News & Media

kenan blogs .

ความเข้าใจผิดๆ 4 อย่างเกี่ยวการใช้ SWOT

มกราคม 26, 2023

สัปดาห์นี้ ด้วยความโชคดีที่หน่วยงานได้ส่งผมไปอบรมในหลักสูตรการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งทำให้ผมมีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิดดี ๆ จากนักวางกลยุทธ์/นักคิดอย่าง รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง เพราะหากคุณผู้อ่านเอาไปปรับใช้แล้วรับรองว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งกับองค์กรหรือความก้าวหน้าส่วนตัวเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญา ผมจะใช้วิธีการสรุปจุดเรียนรู้ในมุมมองของผมแทนการถอดความรู้ที่อยู่ในการอบรม สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ครั้งนี้คือการได้รู้ว่าผมเองมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกับการวิเคราะห์ SWOT พอสมควรเลย ทำให้ผมมองข้ามไม่ค่อยได้ใช้ SWOT ให้เป็นประโยชน์ได้เต็มที่เหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว SWOT ส่งผลต่อการอยู่หรือไปของธุรกิจได้เลยนะ     ดังนั้นผมได้สะกัดเอาความเข้าใจผิด ๆ ที่เคยมีกับ SWOT มาเล่าด้วยแนวคิดที่ถูกต้องใหม่อีกครั้งให้เข้าใจได้ง่าย ๆ 4 ข้อดังนี้ (สำหรับคุณผู้อ่านที่ยังไม่คุ้นกับเรื่องนี้ลองไปศึกษาเพิ่มเติมกันก่อนนะ เพราะผมคุยในมุมมองของผู้ที่ผ่านการทำ SWOT กันมาแล้วเป็นหลัก)

     ผิดที่ 1 หลงเวลา อันดับแรกที่มองข้ามคือการกำหนดเงื่อนเวลามาเป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์ SWOT หลายครั้งเราเผลอไปเอาข้อมูลเก่าหรือข้อมูลปัจจุบันมาใช้ สิ่งที่จะเกิดคือเราได้ SWOT ในเชิงประวัติศาสตร์ที่ไม่แข็งแรงพอที่จะต่อยอดไปคิดอะไรใหม่ ๆ ในอนาคตเพื่อการแข่งขันได้ดังนั้นการใช้ SWOT ให้ถูกคือ “คิดไปข้างหน้า” เท่านั้น ซึ่งการจะคิดไปข้างหน้าได้ต้องอาศัยข้อมูลที่ลึกพอเพื่อให้เราสามารถเห็นแนวโน้ม ซึ่งคนที่จะเห็นได้นี่แหละที่เราเรียกกันว่า “คนมีวิสัยทัศน์”หากคุณผู้อ่านอยากมีวิสัยทัศน์ สิ่งที่จะต้องฝึกฝนและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง 2 อย่าง คือ 1) ทักษะในการเก็บข้อมูล ต้องเก็บได้ลึกและตรง ลึกในที่นี่คือลึกกว่าที่คนทั่วไปจะมองเห็น และ ตรงในที่นี้จะหมายถึงไม่แต่งแต้มจนผิดเพี้ยน และ 2) ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง ต้องแกะ แยก และ มองเห็นความเหมือนในความแตกต่างของเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าเราเจอรูปแบบ (Pattern) ดังกล่าวเมื่อไหร่ การมองไปข้างหน้าก็จะแม่นยำขึ้นเท่านั้นอ่านถึงตรงนี้อาจจะมีคำถามในใจว่า แล้วอนาคตนี้คือ “กี่ปี” กะง่าย ๆ ว่าสัก 5 ปีก็ได้ โดยช่วงเวลาจากวันนึ้ถึง 5 ปี จะต้องเป็นภาพที่เราเห็นได้ “ชัดเจน” และ หลังจาก 5 ปีขึ้นไปต้องเป็นภาพที่เราเห็น “เค้าโครง” ทั้งนี้เราจะต้องหมั่นมองและปรับภาพอยู่ตลอดเวลา อย่ายึดติดกับภาพใดภาพหนึ่งเพราะโลกในวันข้างหน้าจะเปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ

      ผิดที่ 2 เริ่มจากปัจจัยภายใน สิ่งที่ถูกต้องคือการคิดจากปัจจัยภายนอก (Opportunities และ Threats) ก่อนเท่านั้น นั่นถึงเป็นเหตุผลที่หลายตำราเปลี่ยนจาก SWOT เป็น TOWS ทั้งที่ใส้ในเหมือนกันเป๊ะเพราะต้องการให้เรียงลำดับใหม่การสลับตำแหน่งดังกล่าวสำคัญมาก เพราะหากเราคิดจากภายในก่อนเราจะตาบอดจากปัจจัยภายนอกได้ง่าย ๆ เช่น เราวิเคราะห์ปัจจัยภายในเรียบร้อยแล้ว พอไปวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกดันพบว่าจุดแข็ง (Strengths) ของเรากำลังจะ “ตก Trend” เนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต เจอแบบนี้ก็หมดแรงเหมือนกัน หลายที่จะใช้การแถเพื่อมองหาปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่จะมารองรับกับปัจจัยภายในที่คิดว่าดีอยู่แล้ว (พูดง่าย ๆ ขี้เกียจเปลี่ยนตัวเอง ว่างั้นเหอะ) ผลที่ตามมาคือ SWOT ที่ผิดและจะนำทุกอย่างไปสู่ความเสียหายได้ในที่สุดคราวนี้อยากให้มาเจาะรายละเอียดกันหน่อย ปัจจัยภายนอกตำราไทย ๆ มักจะแปล Threats ว่า “อุปสรรค” ที่กีดขวางทางเดิน นัยยะคือถ้าไม่เดินไปชนก็ไม่เป็นอะไรซึ่งผิด เพราะความเป็นจริงแล้วเราไม่ต้องขยับไปไหนเลยทั้ง Threats และ Opportunities จะเป็นฝ่ายเดินมาหาเราเอง ดังนั้นการคิดกับปัจจัยภายนอกให้ถูกต้องก่อนปัจจัยภายในจึงเป็นเรื่องที่ควรลำดับให้ถูกต้อง

     ผิดที่ 3 เข้าใจว่าปัจจัยภายเป็นเรื่องของคนใน ปกติการวิเคราะห์ SWOT นั้นเราไม่ค่อยไปถามใครหรอกเพราะถือเป็นความลับของหน่วยงาน ทำให้การวิเคราะห์เป็นเรื่องที่หมกทำกันอยู่ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์กรซะเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่มักจะพลาดคือการมองปัจจัยภายใน (Strengths และ Weaknesses) ตามความเข้าใจของคนในองค์กรแทนที่จะมองในมุมของลูกค้าหรือผู้บริโภค

ทางออกคือต้องหาวิธีการมองหาจุดอ่อนและจุดแข็งของสินค้า บริการ หรือ องค์กรของเราจากสายตาของลูกค้าให้ได้ เช่น เราอาจจะเข้าใจว่าร้านอาหารเราเด่นเรื่องรสชาติ (Strengths) มีสูตรเด็ด อร่อยสุด ๆ (สำหรับเราคนเดียว) แต่ลูกค้าอาจจะมาร้านเราด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่น เสริฟเร็ว ราคาถูก หรือ บริการประทับใจ ฯลฯ ไม่ได้มาเพราะอร่อยอย่างที่เราคิดไปเอง อันนี้ต้องเฟ้นหาอย่างมีศิลปะและเป็นกลาง ในขณะที่เราอาจจะมองว่าร้านยังแต่งไม่สวย เป็นจุดอ่อน (Weaknesses) แต่คนอาจจะเลิกมาร้านเราด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นกัน ทั้งนี้ต้องคิดแบบคนนอกที่มองเข้ามามากกว่าที่จะคิดเอาเองดังนั้นวิธีการที่ถูกต้องคือการหาคุณภาพที่จำเป็นให้ครบและเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดเดียวกัน (Benchmarking) เช่น รสชาติ บริการ ราคา ฯลฯ อะไรที่เราเหนือกว่าคือจุดแข็ง (Strengths) และอะไรที่เราด้อยกว่าค่อยนับเป็นจุดอ่อน (Weaknesses) แบบนี้จะช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ตรงไปตรงมากว่าเยอะอย่างไรก็ดี ทุกธุรกิจทั้งในระดับสินค้า/บริการ หรือ องค์กร จะต้องมีจุดแข็งบังคับที่ขาดไม่ได้ เช่น เปิดร้านอาหารต้องอร่อย เปิดโรงพยาบาลต้องรักษาหาย เปิดโรงเรียนเด็กต้องเก่ง เปิดร้านขายของต้องมีสินค้าครบ เป็นต้น และ จะขยับขยายไปยังคุณภาพอื่น ๆ ก็ค่อยว่ากันในเชิงของการขยายกิจการ (Growth)

    ผิดสุดท้าย งงกับหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ทั้งนี้ SWOT สามารถใช้ได้กับการวิเคราะห์ทุกระดับตั้งแต่องค์กร แผนกในองค์กร สินค้า/บริการ หรือแม้แต่ระดับบุคคล ดังนั้นต้อง “เลือก” และ “กำกับ” ให้การวิเคราะห์อยู่ในหน่วยในการวิเคราะห์ที่เราต้องการ เพราะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หลายครั้งเราคิดในหมวกองค์กร สักพักก็เผลอคิดในหมวกสินค้า ทำให้ปนกันมั่วไปหมด กลายเป็น SWOT ที่ไม่ชัดจนได้ยกตัวอย่างเดิมว่าเราเปิดร้านอาหาร “ร้าน” เป็นธุรกิจของที่บ้านทั้งหมด เวลาเราวิเคราะห์ SWOT ของที่ร้านจะมองร้านเราเป็นปัจจัยภายในโดยอะไรที่นอกเหนือจากนี้เป็นปัจจัยภายนอกและมีร้านอื่น ๆ เป็นคู่แข่ง แต่ในขณะเดียวกัน ในร้านยังแยกขายอาหารหลายอย่าง เช่น อาหารตามสั่ง หมูสะเต๊ะ และ ก๋วยเตี๋ยว ดังนั้นหากเราลงไปคิด SWOT ของ “อาหารตามสั่ง” ทั้งหมูสะเต๊ะและก๋วยเตี๋ยวจะเป็นสินค้า/บริการอื่นทันที ต้องมองสองอย่างที่เหลือเป็นปัจจัยภายนอก ต้องแข่งกันเอง ดังนั้นการพัฒนาเพื่อหาวิธีเพิ่มมูลค่าในสินค้าแต่ละตัวอย่างไม่หยุดยั้งจะนำไปสู่การ “ห่อกลับ” ซึ่งช่วยกิจการในภาพรวมได้ในที่สุด

     สุดท้ายจริง ๆ แนวคิดเพิ่มเติมคือ SWOT เองสามารถใช้ได้กับทุกที่ทุกอย่าง เพราะแม้ว่าคุณผู้อ่านบางคนอาจจะยังไม่ได้มีโอกาสวิเคราะห์ SWOT ให้องค์กรหรือให้กับสินค้า/บริการ แต่คุณผู้อ่านก็ยังสามารถวิเคราะห์ SWOT ของตัวคุณผู้อ่านเองก็ได้ เปลี่ยนหน่วยในการวิเคราะห์ให้เป็นตัวเราซะ และมองปัจจัยภายนอกดูว่าความเปลี่ยนแปลงในอนาคตในระดับองค์กร หรือ ในอุตสาหกรรมที่เราทำงานอยู่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ความสามารถของเราที่มีจะต้องพัฒนาต่ออย่างไรให้มีจุดแข็งบังคับที่ขาดไม่ได้ เทียบกับเพื่อนหรือคนในวงการแล้วเป็นอย่างไร เพราะถ้าเจอแล้วเราจะรู้ได้เองว่าจะต้องเดินทางไหน การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองก็จะมีความหมายเป็นอย่างไรกันบ้างกับแนวคิด Classic ที่อาจจะเผลอใช้กันผิดบ้างถูกบ้าง ก็อยากเป็นกำลังใจให้ทุกท่านไปคิดอ่านทำการเพื่อสร้างสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าให้ทะลุกรอบเดิม ๆ ที่เรามีอยู่ อยากให้ขยับเพื่อให้เราได้เป็นฝ่ายรุกกับการแข่งขันระดับ AEC ที่กำลังมาถึง เพราะไม่ใช่เป็นแค่รอบ Battle แต่เป็นรอบ Knockout เลยล่ะ

Share this article

Related Blogs.

ครูผู้สานฝันให้นักเรียนก้าวสู่อาชีพสะเต็ม
ครูวิไลลักษณ์ ปิ่นแก้ว หรือครูอี๊ด หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม กรุงเทพมหานคร...
“ค่ายสะเต็มของคีนัน” ได้ค้นพบนักเรียนดาวรุ่งในยุคการศึกษาศตวรรษที่ 21 แล้ว
น้องณัฐกานต์ จับสายยางในมือไว้แน่น แล้วบรรจงกรอกน้ำลงขวด เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตรงตามเกณฑ์ ที่จะทำให้จรวดขวดน้ำของเธอทะยานขึ้น...
โครงการซิตี้พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน
จากความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนามาอย่างยาวนานระหว่างคีนันและมูลนิธิซิตี้ ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2559...

Latest Blogs.

View more
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Subscribe to our newsletter!

Kenan Foundation Asia believes in a world where
vulnerable populations are empowered to succeed in
an inclusive society.

Thailand Charitable Organization Registration #350, under the Ministry of Finance US 501(c)3 Equivalency Status