News & Media

kenan blogs .

เทคนิคที่ทำอะไร ๆ ให้ประสบความสำเร็จ

มกราคม 26, 2023

วัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน สัปดาห์หนึ่ง ๆ ช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน ทำงานเพลิน ๆ เวลาก็ผ่านไปแล้ว ซึ่งที่จริงถือเป็นเรื่องดีที่สำหรับใครที่รู้สึกแบบนี้ เพราะสะท้อนว่าเรารักในสิ่งที่ทำจนหน้าตั้งตาทำงานกันอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เข้ากับคำกล่าวของขงจื้อที่ว่า “Choose a job you love, and you will never have to work a day in your life” คำถามที่ผมสนใจคือว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราทำอยู่ด้วยความเพลิดเพลินนี้จะนำพาชีวิตเราไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ เพราะหลายครั้งที่คนทุ่มเทให้กับการทำงานมักจะท้อเพราะไม่เห็นหรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผลลัพธ์ปลายทางคืออะไร ดังนั้น Ministry of Learning สัปดาห์นี้จะมาจะมาชวนคุนผู้อ่านคุยกันถึงเรื่องนี้สักหน่อย

ผมอยากแนะนำให้คูณผู้อ่านได้รู้จักกับ Logic Framework ซึ่งเป็นหลักในการกำหนดกรอบการติดตามและการประเมินผลโครงการ หรือ Monitoring and Evaluation (M&E) ซึ่งเป็นแนวทางมาตรฐานที่องค์กรพัฒนาระดับนานาชาติ หรือ วงการธุรกิจบางแห่งใช้เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินความก้าวหน้าของงานที่ทำอยู่หลักสำคัญแรกคือการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทำอยู่ตามแผนภาพดังนี้ก่อน

Logic Framework ดัดแปลงจาก Wholey และ คณะ (2004)
จากแผนภาพ Input เป็นปัจจัยแรกสุด เป็นปัจจัยที่บอกว่าเราใช้หรือใส่ “อะไร” เข้าไปในการทำงานของเรา เช่น เงิน เวลา แรงงาน วัตถุดิบ หรือ ความรู้/ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ พูดอีกนัยหนึ่งคือทรัพยากรที่เราต้องใส่เข้าไปให้เกิดผล ในทางปฏิบัติแล้ว Input อาจจะเป็นจำนวนวันทำงาน (Man-day) จำนวนของวัตถุดิบ หรือ งบประมาณที่ต้องใช้ Input ที่ใช้ไปจะถูกเอาไปเทียบกับ Output ที่ออกมาว่าเราสามารถทำงานได้คุ้มค่าแค่ไหน

โดยมากแล้วหลายคนอาจจะมองข้ามคุณภาพของ Input ไปเพราะเข้าใจว่า “มี” แล้วก็จบ ซึ่งหากงานที่ทำเป็นกลุ่มด้านอุตสาหกรรมก็จะมี Spec ที่แน่นอนว่าของเข้าโรงงานต้องเกรดไหนคัดอย่างไร แต่งานที่เป็นโครงการแบบที่ผมดูแค่บอกว่ามีคนมาช่วยอย่างเดียวบางทีไม่พอ ต้องดูด้วยว่าใคร เพราะความสามารถและทัศนคติในการทำงานถือว่าเป็น Input ที่จะส่งผลกับการทำงานของผมด้วย

Process เป็นการบอกว่า “อย่างไร” ในขั้นนี้รวมหมดทั้งแนวคิด เทคนิค แผนงาน หรือ กลวิธี ซึ่งต้องทำโดยจะต้องมิวิธีในการติดตามว่า Process เดินหน้าไปไปในทิศทางและกรอบเวลาที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้แน่นอนว่าถ้า Input ดี Process ก็จะง่าย การทำงานต่าง ๆ ก็จะราบรื่นและมีความสุข

ในทางปฏิบัติแล้ว Process จะเป็นช่วงเหนื่อย บางทีต้องประชุมกันยาว ๆ ต้องปรับแผน หรือแม้แต่แก้งานกันหลาย ๆ รอบซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นทั้งหมด เพราะถ้าสิ่งที่ทำมันผิดผลที่จะตามมาก็จะผิดตามไปด้วย ดังนั้นในขั้น Process นี้นอกจากจะต้องดำเนินไปด้วยความชัดเจนแล้วต้องใช้ความแน่วแน่ของทีมงานประกอบด้วย

Output เป็นการบอกว่า “ได้อะไร” ตรงนี้คือสิ่งทีเราจะได้ผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการ ผลงาน หรือ Package ใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งจะมีผลงานที่ออกมาเป็นจำนวนที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น จำนวนครั้ง จำนวนชิ้น จำนวนคนที่รับข่าวสาร ฯลฯ
ตรงนี้หลายคนหลง เพราะคิดว่า Output คือที่สุดแล้ว แบบทำงานเสร็จก็ฉลอง แต่จริง ๆ ไม่ใช่ เพราะว่าการมี Output ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่า Outcome จะได้ผลตามนั้น เช่น เราออก Campaign ประชาสัมพันธ์ได้ Output ออกมาเป็นงานโฆษณาหลายตัวมากเลย ซึ่งก็ดีเพราะถือว่าทำงานสำคัญสำเร็จแต่งานที่ว่ายังไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เพราะ Outcome ที่ต้องการคือการตัดสินใจซื้อขอลูกค้าจนเกิดเป็นยอดขายต่างหาก

สุดท้าย Outcome เป็นการบอกที่สำคัญที่สุดว่า “ได้ผลอย่างไร” ตรงนี้แหละที่ต้องกำหนดให้ชัด ๆ เช่น ดูที่ยอดขาย ดูที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ดูที่ความรู้ของคน ดูที่รายได้ของชาวบ้าน หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้น

ตัว Outcome นี่แหละคือส่วนที่ต้องบอกว่างานที่เราทำสอบผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะไม่ใช่แค่ตัวเราหรือตามที่มาตรฐานกำหนดแล้ว แต่เป็น Customer/Public ซึ่งในที่นี้เป็นได้ตั้งแต่เจ้านาย ลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า Output ที่สุ้มอดทนปั้นทำมานั้นจะรังสรรค์ให้เกิด Outcome ตามที่เราต้องการมากน้อยแค่ไหน ซึ่งนี่แหละหากฉลองกันที่ Outcome จะเป็นอะไรที่ชื่นใจกว่าเยอะ

ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตามหรือ Monitoring จะคาบเกี่ยวในช่วงของ Input Process และ Output ในขณะที่ Evaluation โดยมากจะสนใจที่ Outcome ซะส่วนใหญ่ ซึ่งนี้แหละคือจุดที่ตัดให้เห็นว่าการติดตามและการประเมินผลจะเข้าไปอยู่ตรงไหนของการทำงานหรือกระบวนการทางธุรกิจ เพราะทุกขั้นตอนมีความสำคัญหมด แต่ใจความสำคัญคือคนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมองให้เห็นถึง Outcome ที่ต้องการตั้งแต่วันแรกและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ผ่านขั้นตอนและเนื้องานที่จะดันไปให้ถึงจุดที่ต้องการนั้นให้ได้

จะเห็นได้ว่าการนำเอาแนวคิดของ Logic Framework มาประยุกต์ใช้ในการทำงานของเรานั้นจริง ๆ แล้วไม่ยาก อาจจะต้องใช้เวลาคิดอย่างละเอียดหน่อย แต่รับรองว่าจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำงาน เรียกได้ว่าเป็นแนวทางที่ให้คุณผู้อ่านนำเอาแนวคิดของ M&E มาใช้เพื่อให้เราประสบความสำเร็จได้มากกว่าทั้งการทำงานในองค์กรหรือการเป็นเจ้านายตนเอง

สำหรับ Ministry of Learning ฉบับนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอให้มีความสุขในการก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดี

Share this article

Related Blogs.

Talking about Corporate Social Responsibility...
เด็กของเราจะไม่ถูกทอดทิ้ง โดย พีรานันต์ ปัญญาวรานันท์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน CSR มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย...
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ....เคล็ด(ไม่)ลับ เพิ่มเงินออมในกระเป๋าสตางค์
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ….เคล็ด(ไม่)ลับ เพิ่มเงินออมในกระเป๋าสตางค์ เขียนโดย สุวิภา ฉลาดคิด ผู้ช่วยที่ปรึกษา...
IBM_STEM_Workforce_Seminar_2
โครงการวิจัยและศึกษานโยบายและรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม : โครงการ “คนไทยก้าวไกล ใส่ใจการเงิน”
มูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) พฤศจิกายน 2556 ปัจจุบัน คีนันร่วมมือกับมูลนิธิซิตี้ และธนาคารซิตี้แบงก์...

Latest Blogs.

View more
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Subscribe to our newsletter!

Kenan Foundation Asia believes in a world where
vulnerable populations are empowered to succeed in
an inclusive society.

Thailand Charitable Organization Registration #350, under the Ministry of Finance US 501(c)3 Equivalency Status