News & Media

kenan blogs .

อัจฉริยะด้วยหมวกหกใบตอนที่ 2: หมวกแดง เทคนิคในการปล่อยอารมณ์อย่างเหนือชั้น

มกราคม 26, 2023

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ในที่สุดเราก็มาถึงสัปดาห์สุดท้ายของปีงบประมาณแล้ว ก็ขออนุญาติเป็นกำลังใจให้คุณผู้อ่านทุกท่านให้ได้รับการ Promote แต่งตั้ง เลื่อนขั้น หรือ มียอดขายสวย ๆ ให้เป็นแรงใจในการเติบโตต่อไป

สำหรับ Ministry of Learning สัปดาห์นี้จะเป็นตอนที่สองของ The Series เรื่องการคิดแบบหมวก 6 ใบ โดยในตอนแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเทคนิคการเปิดรับข้อมูลด้วย “หมวกขาว” ตาม Link นี้ ซึ่งคุยกันถึงแนวคิดและเทคนิคในการใช้หมวกขาวที่จะทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตรง และ สามารถนำไปสู่การคิดต่อยอดในหมวกอื่น ๆ ได้อย่างไร

สำหรับหมวกใบที่สองที่เราจะคุยกันวันนี้คือ “หมวกแดง” ซึ่งสีแดงนั้น Edward de Bono เจ้าของทฤษฎีนี้เลือกใช้สีแดงเพื่อสื่อถึง “อารมณ์และความรู้สึก” ด้วยเรื่องอารมณ์และความรู้สึกเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เพราะมีความเกี่ยวโยงกับความสุขทุกข์ในชีวิตเรามากเหลือเกิน บางคนที่ผมรู้จักเป็นคนเก่งมีความสามารถ แต่ไม่สามารถบริหารอารมณ์ตัวเองได้ สุดท้ายปล่อยให้อารมณ์ตัดโอกาสความก้าวหน้าในชีวิตของตัวเองไปอย่างน่าเสียดาย

สิ่งที่เราควรรู้จักก่อนคืออารมณ์และความรู้สึกเกิดขึ้นได้ง่ายและเร็วมาก หลายทีที่เรารับรู้ข้อมูลอะไรมาก็เผลอใส่อารมณ์เข้าไปโดยที่ยังไม่ทันได้วิเคราะห์ข้อมูลก็มีบ่อย ๆ นำไปสู่ความขัดแย้งโดยไม่จำเป็นเลย ดังนั้นการมีหมวกแดงจึงเป็นการ “เปิดโอกาส” ให้เรารู้สึก แลกเปลี่ยน และจอดอารมณ์ของเรากับเพื่อนเราไว้ได้อย่างเหมาะสม โดยผมมีเทคนิคเสริมให้ดังต่อไปนี้

เทคนิคที่ 1 Focus ให้ถูกที่ เทคนิคแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด เพราะการคิดด้วยหมวกหกใบนั้นมีความสำคัญที่จะต้อง Focus อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในที่นี้คือ “ข้อมูล” ที่เราเปิดรับมาด้วยหมวกขาวแล้วเท่านั้น เน้นว่าเป็น “อารมณ์ของเราเอง” ไม่ต้องไปรู้สึกแทนใคร หรือ เอาเราไปอยู่ในเหตุการณ์ไหน แต่ให้มองความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ที่มากระทบใจเราเป็นหลักถึงจะเป็นความรู้สึกเราเองแท้ ๆ ที่มีต่อข้อมูลนั้น ๆ

เทคนิคเสริมที่ผมอยากแนะนำคือเราต้องตัดอารมณ์จากอารมณ์ของคนอื่น ๆ ด้วยนะ บางทีเรามีอารมณ์และความรู้สึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขัดแย้งหรือตรงข้ามกับเพื่อนของเราก็อย่าได้เอาความแตกต่างทางอารมณ์นั้นมาสร้างเป็นประเด็นใหม่ คิด แลกเปลี่ยน และ วางมันลงอย่างนิ่มนวลจะดีที่สุด

เทคนิคที่ 2 มองและอยู่กับตัวเอง การอยู่กับตัวเองเหมือนจะง่ายนะแต่ไม่น่าจะใช่กับคนสมัยนี้ โดยเฉพาะการมีสื่อสังคมออนไลน์ที่เราสามารถคุยกับใครตอนไหนก็ได้ ทำให้เราขาดทักษะที่หันมาถามใจเราว่า “เฮ้ย คิดอะไรอยู่” เพราะแทนที่จะมีเวลาคุยกับตัวเองเราก็ Post ไปซะแล้ว นานวันเขาเราก็ลืมวิธีจัดการกับความรู้สีกตัวเองเพราะใช้ไปกับตอบ Ment เพื่อนแทน ดังนั้นเทคนิคนี้คือการตัดตัวเองออกมาจากช่องทางที่คุ้นเคย โดยฝึกที่จะมองความรู้สึกตัวเองที่มีต่อข้อมูลให้ได้ ทำได้ง่าย ๆ โดยการหายใจลึก ๆ หลับตาแป็บนึง และ มองหาความรู้สึกโดยสัมผัสจริง ๆ ว่าอารมณ์และความรู้สึกอยู่ส่วนไหน หน้าตาแบบไหน ทำบ่อย ๆ เราจะมีทักษะที่ทำได้เองอธิบายยากแต่ไม่ต่างอะไรกับการหัดหยิบของ หัดพูด หัดเดิน ที่เราทำเป็นอยู่แล้วนั่นไง

เทคนิคที่ 3 หาคำอธิบายที่ใช่ จากประสบการณ์ที่ผมได้ช่วยคนอื่น ๆ ในการระดมสมองมักจะตกม้าตายในเรื่องนี้ เพราะหลายคนไม่สามารถหาคำพูดที่สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเหมาะสม หลายครั้งผมก็เป็น บางทีกรุ่น ๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่าความรู้สึกนั้น ๆ คืออะไร อึดอัดแต่บอกใครไม่ได้ ดังนั้นเทคนิคง่ายคือจับสังเกต (อันนี้เทคนิคส่วนบุคคลมากนะ) เช่น เวลามีอารมณ์โกรธ จิตอยู่แถว ๆ อกมาขึ้นมาถึงลำคอ ทำให้เราเสียงสั่น ปากสั่น เวลามีอารมณ์เสียใจ จิตจะไปอยู่ใต้หูไปถึงจมูก พอดันออกมาโพละ น้ำตาแตกทันที หรือ เวลาอยากได้นั่นนี่นู่นมันละลิงโลดในใจ จิตไปหลังหรือขา จะเดินหน้าท่าเดียว อันนี้สุดแล้วแต่ ดังนั้นต้องหัดและอธิบายได้ ยิ่งอธิบายละเอียดยิ่งทำให้เราเข้าใจตัวเองได้มากเท่านั้น

เทคนิคเสริมถ้า Pro แล้วนะ คือการสังเกตระดับของความรู้สึกด้วยว่ามากน้อยหนักเบาอย่างไร อันนี้จะไม่ยากแล้วเพราะถ้าหาเจอก็แค่ลองวัดดูว่าประมาณไหน ก็จะทำให้เราจิตละเอียดขึ้นเป็นกองแล้ว

เทคนิคที่ 4 ซื่อสัตย์กับตัวเอง ความรู้สึกเป็น “ของเราล้วน ๆ” นะ หลายครั้งที่เราเผลอ “แอบตัดสิน” ความรู้สึกของเราโดยไม่รู้ตัว เช่น รู้สึกอิจฉา รู้สึกหมั่นใส้ รู้สึกไม่แฟร์กับเรา หลายคนที่ผมเจอคืออายที่จะบอกว่าตัวเองรู้สึกแบบนั้น หรือ ไม่อยากเผยความรู้สึกที่ทำให้เราดูแป็นคนเห็นแก่ตัวบ้าง ทั้ง ๆ ที่คำ ๆ นั้นอาจจะเป็นคำอธิบายอารมณ์และความรู้สึกของเราในตอนนั้นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็ได้ ดังนั้นความซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเองเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เทคนิคง่าย ๆ คือ บอกตัวเองว่าฉันเป็นคนธรรมดา การคิดและการรู้สึกเป็นสิทธิ์ที่พึงมี ไม่ได้เดือดร้อนใคร

เทคนิคเสริมสำหรับมุมที่กลับกันคือ บางครั้งบางเรื่องเราไม่ได้รู้สึกอะไรสักกะอย่างเดียวก็มีนะ ก็ไม่ต้องไปน้อยอกน้อยใจว่าเราผิดปกติ เพราะโลกนี้มี “อารมณ์เฉย ๆ” นะไม่ต้องเหนื่อยประดิษฐ์หรือพยายามให้เราเหมือนใคร ซื่อสัตย์กับตัวเองเข้าไว้และเราจะสะดวกใจขึ้นมาอีกเยอะ

เทคนิคที่ 5 บันทึก เช่นกันกับหมวกอื่น ๆ เราต้องบันทึก โดยเฉพาะอารมณ์และความรู้สึกซึ่งเป็นอะไรที่เกิดขึ้นและผ่านไปเร็วมาก ไม่นิ่ง ดังนั้นเราต้องจับ อธิบาย และ ไม่ลืมที่จะบันทึกความรู้สึกของเราเองเอาไว้ในขณะที่เราสวมหมวกแดงอยู่ ก็จะทำให้เราย้อนกลับมาพิจารณาเมื่อเราต้องการถอยมามองโดยภาพรวมแล้ว

เทคนิคเสริมสุดท้ายคือเมื่อเรา ok กับการสะท้อนความรู้สึกของตัวเองและพร้อมจะถอดหมวกแดงแล้ว ขอให้ถอดหมวกแดงออกไปจริง ๆ โดยเรากลับมาเมื่อไหร่ก็ได้แต่เราต้องไม่ใส่อารมณ์นั้น ๆ ติดออกไปรบกวนการคิดในหมวกใบอื่น ๆ เด็ดขาด

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับการฝึกเพื่อสะท้อนและเก็บเกี่ยวอารมณ์และความรู้สึกของเราเอง เหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่ายนะเพราะวัฒนธรรมบ้านเราไม่ได้เปิดโอกาสให้เราฝึกทักษะนี้มากนัก อย่ามองว่าเป็นเรื่องดีหรือร้ายแต่ให้อยากให้มองว่าเป็นเครื่องมือหนึ่ง ๆ ที่สามารถเปิดประโยชน์กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อย

สำหรับ Ministry of Leaning – The Series: อัจฉริยะด้วยหมวกหกใบตอนที่ 2 นี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอให้มีความสุขกับการเก็บเกี่ยวความรู้สึกของตัวเองอย่างชัดเจน ตอนต่อไปเราจะมาฝึกมองโลกในแง่ดีด้วยหมวกเหลืองกัน จะช่วยให้เราเห็นโอกาสอะไรในชีวิตได้มากน้อยแค่ไหนโปรดติดตาม สำหรับวันนี้…สวัสดี

Share this article

Related Blogs.

พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ.....“ยิ่งใช้ ยิ่งจน”
เขียนโดย น.ส. สุวิภา ฉลาดคิด ผู้ช่วยที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้ประกอบการ และ น.ส....
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ..... การตั้งเป้าหมายนั้น สำคัญไฉน
“ตั้งเป้าหมายสำคัญไฉน”   โดย คุณกนกพร นิตย์นิธิพฤทธิ์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการเงิน มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย...
Talking about development....พูดถึงเรื่องเงินๆทองๆ
“ฝากเงินแบบไหนดี…ที่เหมาะกับตัวคุณ” เขียนโดย น.ส. สุวิภา ฉลาดคิด ผู้ช่วยที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ...

Latest Blogs.

View more
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Subscribe to our newsletter!

Kenan Foundation Asia believes in a world where
vulnerable populations are empowered to succeed in
an inclusive society.

Thailand Charitable Organization Registration #350, under the Ministry of Finance US 501(c)3 Equivalency Status