News & Media

kenan blogs .

บ่มเพาะ 2 ทักษะที่จำเป็นแก่สตรีชาวไร่อ้อย สร้างแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน

มกราคม 26, 2023

แม้อาทิตย์เพิ่งจะเริ่มแตะขอบฟ้า แต่ทุกคนในครอบครัวศิริสมกลับได้กลิ่นข้าวต้มหอมกรุ่นโชยมาตามสายลม กิจวัตรประจำวันในทุกๆ เช้าของนางแสงกนก ศิริสม คือเตรียมอาหารเช้าสำหรับสามี ลูกสาว และพ่อแม่ จากนั้นก็ทำความสะอาด เก็บกวาดบ้านเรือนให้เป็นระเบียบ พับผ้าเก็บเข้าที่ รวมทั้งดูแลความพร้อมก่อนไปโรงเรียนของลูกสาวเด็กหญิงวิชุดา หลังจากที่จัดการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เธอจึงขับรถมุ่งสู่ไร่อ้อยเพื่อทำงานภายใต้แสงแดดอันร้อนระอุจนเลิกงานในเวลาห้าโมงเย็น

การดำรงชีพเป็นชาวไร่อ้อยนับเป็บอาชีพที่มีความท้าทายทั้งทางจิตใจ และร่างกาย ทุกวันนี้เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยต่างมีหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องต่างๆ ในครอบครัวมากขึ้น ด้วยภาระล้นเต็มบ่า เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยแทบไม่มีโอกาสในการแสวงหาสิ่งที่จะมาช่วยยกระดับการทำงานในธุรกิจไร่อ้อย ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทยริเริ่มโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรืองซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลยี่ห้อ “ลิน” และ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย เพื่ออบรมเกี่ยวกับการบริหารทางการเงิน และการทำเกษตรอย่างยั่งยืนให้แก่กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดอุทัยธานี โดยมุ่งเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการเงิน เสริมสร้างทักษะและเทคนิคที่จำเป็นต่างๆ อันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง แม้เป็นเพียงโครงการนำร่อง แต่สามารถช่วยให้สตรีชาวไร่อ้อยกว่า 600 คนสามารถดำเนินธุรกิจการเกษตรได้อย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และขยายผลสู่ชุมชนในวงกว้าง

กลุ่มสตรีชาวไร่อ้อยในจังหวัดเพชรบูรณ์มีร่วมเรียนรู้แบบเน้นการโต้ตอบเพื่อฝึกตั้งเป้าหมายของตน พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์ทางการเงิน
คีนันดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ โดยออกแบบโครงการจากพื้นฐานข้อมูลผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของสตรีชาวไร่อ้อยในประเทศไทย ผู้เป็นหนึ่งในห่วงโซ่คุณค่าที่สำคัญของโคคา-โคลา ผลการศึกษาพบว่า การขาดความรู้และความเข้าใจต่อการบริหารจัดการทางการเงิน รวมทั้งการทำธุรกิจการเกษตรด้วยวิธีแบบเดิมๆ นับเป็นสิ่งบั่นทอนที่สำคัญอันส่งผลต่อความสำเร็จและความภูมิใจของสตรีกลุ่มนี้ ทั้งนี้ปัจจัยทั้งสองต่างมีความเชื่อมโยงต่อการประยุกต์ทักษะการวางแผนทางการเงินสำหรับเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย และการวางแผนเกี่ยวกับผลตอบแทนในระยะยาว เนื่องจากอ้อยเป็นพืชในกลุ่มที่มีอายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ระหว่าง 3-8 ปี ต่อการลงทุนในแต่ละครั้ง ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ และประเมินผลผลิตที่จะเกิดขึ้น

ชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่การเพาะปลูกขนาดกลางและขนาดเล็กมักจะมีความรู้ความเข้าใจต่อการบริหารจัดการทางการเงินไม่เพียงพอ ในขณะที่ภาระหน้าที่การบริหารการเงิน และการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรกลับเป็นภาระที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังเช่น นางแสงกนก ที่ต้องทำหน้าที่จัดหาแรงงาน ติดตามผลการทำงานของลูกจ้าง วางแผนและจัดการงบประมาณและเงินทุน ขณะที่ต้องขับรถไถด้วยตนเองในแต่ละวัน จากภาระหน้าที่อันมากมาย ประกอบกับหน้าที่ด้านการจัดการทางการเงิน พร้อมทั้งงานด้านต่างๆ ในครัวเรือน ทำให้กลุ่มสตรีเช่นแสงกนกมักเผชิญปัญหาและความท้าทายแทบทุกด้านเมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพื่อช่วยเหลือให้สตรีเหล่านี้หลุดพ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คีนันดำเนินการจัดการอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานด้านการบริหารจัดการทางการเงิน อันประกอบด้วย การบริหารการใช้จ่าย การบริหารจัดการหนี้ การออม การจัดทำบัญชีครัวเรือน และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยหวังว่าการอบรมจะยกระดับให้กลุ่มเป้าหมายมีเครื่องมือ วิธีการ และทางเลือกมากขึ้น ในการรับมือและบริหารการเงินได้อย่างเหมาะสม และไม่กลับไปสู่การตัดสินใจกู้ยืมเงินหรือสร้างหนี้นอกระบบ

นางแสงกนก หนึ่งในสตรีชาวไร่อ้อยที่เข้ารับการอบรม ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมากล่าวว่า “การอบรมในครั้งนี้มีประโยชน์มาก ตอนนี้ดิฉันเริ่มเห็นความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล และการลงทุน ซึ่งคิดว่ามันจะช่วยให้ครอบครัวของเราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในระยะยาว”

นอกจากความไม่ชำนาญด้านการวางแผนทางการเงินแล้ว ชาวไร่อ้อยในโครงการมักใช้วิธีการทำการเกษตรแบบเดิมๆ ที่ไม่ทันสมัย ขาดการประยุกต์เทคนิค และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ หากแต่ยังคงเน้นใช้แรงงานจำนวนมากและยังขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งที่ชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่มักมีความพร้อมด้านเงินทุน สามารถจัดหาเครื่องมือ และเลือกใช้วิธีดำเนินงานที่ใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัย ทำให้สามารถได้ผลผลิตอ้อยที่พร้อมส่งโรงงานตามที่ตนคาดการณ์ แต่ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายของชาวไร่อ้อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก กลุ่มบริษัท น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตน้ำตาลชั้นนำของไทย จึงจัดดำเนินการพัฒนาให้แนวคิด พร้อมแลกเปลี่ยนวิธีการปลูกอ้อยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก แก่กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยเพื่อปรับกระบวนทัศน์ต่อการปลูกอ้อยยุคใหม่

โครงการสามารถยกระดับศักยภาพสตรีชาวไร่โดยตรงกว่า 600 ท่าน ผลลัพธ์ดังกล่าวส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานเพื่อตอบรับโครงการด้านความยั่งยืนระดับโลกที่ริเริ่มขึ้นของโคคา-โคลาที่ชื่อว่า “5by20” ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงในห่วงโซ่คุณค่าหรือแวลูเชน ให้ได้จำนวน 5 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2563 ประโยชน์ที่เกิดขึ้นสามารถขยายผลทั่วพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี และเพชรบูรณ์ เสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ยกระดับทักษะเชิงธุรกิจในกลุ่มสตรี สร้างผลกระทบต่อกลุ่มเยาวชนที่แม่เข้าร่วมโครงการ สร้างงานในชุมชน ตลอดจนครอบครัวของผู้เข้าร่วมโครงการจะมีสถานะภาพที่ดีกว่าเดิมแม้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนาธุรกิจ และเศรษฐกิจ ของมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย

Subscribe to our monthly newsletter


Share this article

Related Blogs.

จดหมายข่าวโครงการ Chevron Enjoy Science ฉบับที่ 1
ฉบับที่ 1, สิงหาคม 10 2015 เชฟรอนฯ เปิดตัวโครงการ Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังวิทย์ เพื่ออนาคต โดยดึงรัฐ...
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ.....“ยิ่งใช้ ยิ่งจน”
เขียนโดย น.ส. สุวิภา ฉลาดคิด ผู้ช่วยที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้ประกอบการ และ น.ส....
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ...อะไรเอ่ย.....ยิ่งจด ยิ่งรวย
อะไรเอ่ย…..ยิ่งจด ยิ่งรวย โดยณัฏฐนี สถิตยาธิวัฒน์ที่ปรึกษา โปรแกรมการพัฒนาเศรษฐกิจ ธุรกิจ และผู้ประกอบการ...

Latest Blogs.

View more
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Subscribe to our newsletter!

Kenan Foundation Asia believes in a world where
vulnerable populations are empowered to succeed in
an inclusive society.

Thailand Charitable Organization Registration #350, under the Ministry of Finance US 501(c)3 Equivalency Status