News & Media

kenan blogs .

ตัวชี้วัดชุมชนปรับตัวได้

มกราคม 26, 2023

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา Asian Forum on Corporate Social Responsibility (AFCSR) ครั้งที่ 13 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิบปินส์ ภายใต้ธีม Building Resilient Communities เพื่อให้เข้าใจแนวคิดนี้มากขึ้นจึงได้ทำการค้นคว้าและพบว่า Resilience หรือในภาษาไทยแปลกันว่า ”ยืดหยุ่นปรับตัวได้” นั้นคือความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวเมื่อเผชิญกับความกดดันยากลำบากหรือภาวะวิกฤต คุณสมบัตินี้ถ้าเป็นระดับปัจเจกบุคคลถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญพอๆ กับ IQ หรือ EQ บุคคลระดับผู้นำของโลกไม่ว่าจะเป็นริชาร์ด แบรนสัน  (Richard  Branson) เจ้าของสายการบินชื่อดังของโลก   เวอร์จิ้น แอร์ไลน์  (Virgin Airlines)  และเจ้าของธุรกิจมากกว่า 360 บริษัท ที่ใช้ชื่อการค้าว่า Virgin ตอนนี้มีคำนำหน้าเป็นเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน ที่ต้องผ่านขวากหนามโดนเรียกคืนสัมปทานการบิน เสี่ยงกับการล้มละลาย แต่ด้วยสติและความมีอารมณ์ขัน ความคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาก็ทำให้เขากลายเป็นตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ไม่เคยหยุดให้กับปัญหาใดๆ หรือหญิงเหล็กอย่างฮิลลารี่ คลินตัน (Hillary Clinton) ก็ได้รับการกล่าวขวัญในหนังสือที่ชื่อว่า Leadership Secretes of Hillary Clinton ว่าความลับสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำและการนำไปสู่อำนาจ ในการก้าวข้ามอุปสรรคและฝั่งตรงกันข้าม เพราะเธอมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นปรับตัวได้ เธอจึงสามารถกลับมายืนบนเวทีการเมืองและมีผู้สนับสนุนให้เธอลงสมัครตำแหน่งประธานาธิบดีตลอดเวลา

ในเชิงสังคมและชุมชน คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นปรับตัวได้ (Resilience) ซึ่งกลายมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ชุมชนอยู่ดีมีสุขได้อย่างยั่งยืน ด้วยว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สาธารณสุข การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อมและแม้กระทั่งภัยธรรมชาติ ดังนั้นสังคมและชุมชนจึงอยู่บนความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบเหล่านั้นตลอดเวลาและอาจรวดเร็วขึ้นกว่าในอดีตอันเนื่องจากพลังโลกาภิวัฒน์ ในวงของการสัมมนานี้จึงพูดกันถึงกลไกของ CSR ที่สามารถจะเป็นจุดเชื่อมธุรกิจ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ในการช่วยสร้างชุมชน สังคม ที่สามารถรับแรงกระเทือนจากความเปลี่ยนแปลงแต่ยังมีความหวังจะต่อสู้อุปสรรค และกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
หัวข้อหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานล้นหลามกระทั่งผู้จัดต้องเสริมที่นั่งกันเกือบล้นออกนอกห้อง คือหัวข้อ “ตัวชี้วัดและการวัดผลความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวได้ (Resilience)     ซึ่งนำเสนอโดยด็อกเตอร์คริสทีน แก็บบี้ จากสถาบัน Torrons Resilience Institute แห่งเมือง Adelaide ออสเตรเลีย กระบวนการสร้างความยืดหยุ่นและปรับตัวได้นี้  อาจารย์แก็บบี้ได้ชี้ว่าเป็นกระบวนการที่มีชีวิต (Living Process) กล่าวคือต้องการมีประเมินอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยตัวอย่างที่ยกมาในประเทศอออสเตรเลียนั้นได้มีการจัดคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้คนหลากหลายจากในชุมชนมาร่วมกันติดตามและตรวจสอบศักยภาพของการมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ โดยทางสถาบัน Torrons Resilience Instituteได้จัดทำเครื่องมือ Resilience Scorecard โดยเครื่องมือนี้จะมีประโยชน์ต่อพื้นที่ของชุมชนในการเตรียมพร้อมรับกับภัยพิบัติหรือสถานการณ์อ่อนไหวซึ่งอาจนำมาซึ่งเหตุรุนแรงต่างๆ ได้ รวมไปถึงการสร้างแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กร องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนนั้น ในการศึกษาของสถาบันนี้ หากชุมชนนั้นเป็นชุมชนที่ปรับตัวได้ มีเสถียรภาพและมีศักยภาพสู่การยืดหยุ่น ชุมชนจะมีความสามารถดังนี้คือ1.      สามารถบริหารจัดการระบบต่างๆ ในชุมชนนั้นได้แม้เกิดเหตุวิกฤต (Crisis)ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว เหตุประท้วงหรือเหตุอื่นๆ2.      สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางกายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อตอบรับกับแรงกระทบที่เข้ามาได้3.      สามารถพึ่งพาตนเองได้หากโดนตัดขาดจากความช่วยเหลือภายนอกโดยในหัวข้อ Scorecard จะถูกแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ คือ 1. ความเชื่อมโยงในชุมชน (Connectedness) โดยวัดจากความเชื่อมโยง การสื่อสาร และการสนับสนุนกันและกันของสมาชิกในชุมชน 2. ความเสี่ยงต่างๆและกลุ่มคนในชุมชนที่มีความเปราะบางและต้องการความช่วยเหลือ (Risk/Vulnerability) โดยวัดจากการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่ ลักษณะของกลุ่มคนในชุมชนทั้งแบบที่แข็งแรงอยู่แล้วหรือเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ 3. แผนและกระบวนการ (Process) ในหัวข้อนี้จะมีการวัดระดับการเตรียมพร้อมในแผนการและระบบต่างๆ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในแผนต่างๆ เพื่อฟื้นฟู หรือตอบรับกับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบกับชุมชนทั้งในระดับครัวเรือนและระดับวงกว้าง      4. ทรัพยากร (Available Resources) เป็นการวัดระดับความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค ถนน น้ำ ไฟ แหล่งอาหาร สาธารณสุข รวมไปถึงรายได้ สถานะทางเศรษฐกิจ สถานศึกษาและองค์ความรู้

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า การสร้างคุณสมบัติด้านการยืดหยุ่นและปรับตัวได้นั้นเป็นกระบวนการระยะยาว และต้องการการมีส่วนร่วมจากชุมชน นับจากสมาชิกปัจเจก ระดับครอบครัว ระดับกลุ่มและในภาพรวมทั้งหมด ที่ประเทศออสเตรเลียโดยสถาบัน Torrons Resilience Institute จึงได้จัดทำคู่มือ Tool Kit เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้กับชุมชนต่างๆได้นำไป ปรับใช้และเน้นสิ่งที่สำคัญในการสร้าง Resilience คือคณะกรรมการของชุมชนที่จะต้องร่วมประชุมเพื่อประเมินและติดตามผลตามหัวข้อใน Scorecard และจะต้องมาจากหลากหลายกลุ่มในชุมชน เพื่อให้ครอบคลุมความคิดเห็นโดยรวม

ในวันนี้ที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา นี่อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนให้กับ ชุมชนสังคมที่ต้องโดนท้าทายจากสถานการณ์ความน่ากลัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรง การเมือง โรคระบาด เศรษฐกิจทดถอย และวัฒนธรรมเสื่อมหายไปกับการพัฒนาสมัยใหม่

Share this article

Related Blogs.

ครูผู้สานฝันให้นักเรียนก้าวสู่อาชีพสะเต็ม
ครูวิไลลักษณ์ ปิ่นแก้ว หรือครูอี๊ด หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม กรุงเทพมหานคร...
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ....“เงิน เงิน เงิน ของสาววัยทีน”
“เงิน เงิน เงิน ของสาววัยทีน” เขียนโดย น.ส. ศรีไพร ศรีพนมวรรณ นักศึกษาฝึกงานภายใต้โครงการซิตี้-ครูไทยพอเพียง ...
พูดถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ......เสริมนิสัยการอด...ช่วยสร้างนิสัยการออมได้จริงหรือ?
เสริมนิสัยการอด…ช่วยสร้างนิสัยการออมได้จริงหรือ? เขียนโดย น.ส. ปาริชาติ แสงทอง ผู้ช่วยที่ปรึกษา...

Latest Blogs.

View more
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Slide 1 Heading
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here

Subscribe to our newsletter!

Kenan Foundation Asia believes in a world where
vulnerable populations are empowered to succeed in
an inclusive society.

Thailand Charitable Organization Registration #350, under the Ministry of Finance US 501(c)3 Equivalency Status